สล็อตทุกค่าย

กสศ. เปิดบ้าน ‘ห้องเรียนต้นแบบ Active Learning’ โชว์ผลงานครู ‘นักจัดการเรียนรู้’ ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง

กสศ. เปิดบ้าน ‘ห้องเรียนต้นแบบ Active Learning’ โชว์ผลงานครู ‘นักจัดการเรียนรู้’ ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง

สำนักพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดงาน เวทีเปิดบ้าน ‘ห้องเรียนต้นแบบ Active Learning’ ภายใต้โครงการพัฒนานักจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่การขยายผลพื้นที่ต้นแบบ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร เพื่อแสดงผลงาน มอบโล่และเกียรติบัตรเป็นกำลังใจแก่ครูผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน

เริ่มต้นงานโดย ดร.พรนับพัน วงศ์ตระกูล ผู้จัดการโครงการพัฒนานักจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่การขยายผลพื้นที่ต้นแบบ ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการว่า โครงการได้รับการสนับสนุนจาก กสศ. อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยการดำเนินการในปี 2566 นี้มีครูและนักจัดการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายมากกว่า 500 คน ใน 21 เขตพื้นที่การศึกษา 10 จังหวัดต้นแบบ เข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่ตนเองสนใจ และนำไปพัฒนาห้องเรียนของตัวเอง จากจำนวนหลักสูตรทั้งหมด 8 หลักสูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผ่านการสำรวจความเห็นจากเหล่าคุณครูมาแล้วว่า จะเป็นตัวช่วยในการพัฒนาห้องเรียนที่ส่งต่อพัฒนาการและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดีขึ้นได้

ดร.พรนับพัน วงศ์ตระกูล ผู้จัดการโครงการ ฯ

เป้าหมายในการดำเนินโครงการ ได้แก่

  1. เพื่อพัฒนาหลักสูตร Active Learning ที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของครูและนักจัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นหลัก และยื่นขอการรับรองมาตรฐานจากคุรุสภา
  2. เพื่อสร้างพลังของครู โรงเรียน และเครือข่ายเชิงพื้นที่ ให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ในระดับพื้นที่ มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนตามเกณฑ์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  3. เพื่อขยายผลวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับพื้นที่ต้นแบบ ได้แก่ การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของผู้อำนวยการ ศึกษานิเทศก์ พี่เลี้ยง และครูต้นแบบ ซึ่งสามารถเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่นได้

การดำเนินงานได้เริ่มจากการคัดเลือกองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของครู เพื่อให้ครูนำไปประยุกต์ใช้ และมีหน่วยงานเจ้าของหลักสูตรให้การสนับสนุนตามแนวทาง Active Learning จากองค์กร Creativity Culture and Education หรือ CCE ประเทศอังกฤษ ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนา 4 ด้านพร้อมเพรียงกัน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา หลังจากนั้นจะมีการติดตามประเมินผลผ่านกระบวนการ (Professional Learning Community: PLC) โดยผลลัพธ์พบว่า ครูและนักจัดการเรียนรู้สามารถนำองค์ความรู้จากการอบรมไปปรับใช้ในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสมและเกิดเป็นเขตพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งทิศทางต่อไปจะเป็นการสร้างความเข้าใจระบบพี่เลี้ยง และเผยแพร่การดำเนินงานที่เน้นการนำเสนอเรื่ององค์ความรู้และหลักสูตร PLC ในการพัฒนาห้องเรียน และให้หน่วยงานต้นสังกัดสามารถทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนได้อย่างใกล้ชิดต่อไป

ต่อมาเป็นการกล่าวเปิดงานโดย ดร.โชติมา หนูพริก รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ เป็นตัวแทนของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา กสศ. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานได้พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม

ดร.โชติมา หนูพริก รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้

ดร.โชติมา กล่าวว่า การจะพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพได้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อน นอกจากนี้การพัฒนาการเรียนการสอนของครู โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ที่มีความเหลื่อมล้ำ ถ้าหากทุกฝ่ายจับมือร่วมกัน แบ่งปันองค์ความรู้กัน ก็จะช่วยให้คุณภาพการศึกษาพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น

การดำเนินการร่วมกันระหว่าง สพฐ. และ กสศ. อย่างต่อเนื่องในหลากหลายมิติ ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามากมาย ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินเข้าสู่ปีที่ 3 โดยมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ. สมัครใจเข้าร่วมมากถึง 1,100 แห่ง จาก 21 เขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่ 10 จังหวัด จนประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม

สำหรับการดำเนินงานในปี 2566 มีห้องเรียนต้นแบบถึง 14 โรงเรียน ที่ต่อยอดมาจากห้องเรียนต้นแบบในปี 2565 ในลักษณะโรงเรียนคู่พัฒนา พร้อมตั้งเป้าความร่วมมือกับสำนักพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา กสศ. และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทางเลือกในการเข้าถึงการศึกษา เกิดแพลตฟอร์มทางการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นหลากหลายอย่างมีคุณภาพ โดยโครงการจะมีการสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้ 3 แนวทาง ดังนี้

  1. พัฒนาต้นแบบหลักสูตร องค์ความรู้ และนวัตกรรมการจัดเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่สอดคล้องเหมาะสมกับพัฒนาการเด็กในปัจจุบัน มีความยืดหยุ่นและหลากหลาย เข้ากับบริบทชุมชนและกระแสโลกที่เปลี่ยนไป
  2. ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาครูให้สามารถออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนแบบรายบุคคล
  3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาช่วยส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีศึกษานิเทศก์เป็นพี่เลี้ยงที่ทำงานกับโรงเรียนอย่างใกล้ชิด

ดร.โชติมา กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ประทับใจที่สุดอย่างหนึ่งคือ การได้รับรู้ว่าคุณครูที่เข้าร่วมโครงการเหล่านี้เต็มใจและสมัครใจมาเข้าร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่เด็กไทย ทำให้การดำเนินการไปเป็นอย่างราบรื่นดี และคาดหวังว่าในโอกาสถัดไปจะมีการขยายผลอีกหลาย ๆ เขต เพราะมีต้นแบบที่ดีและมีหลักสูตรที่ได้รับการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญ คุณครูหลายคนจึงให้ความมั่นใจที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

ดร.โชติมา ทิ้งท้ายว่า กุญแจสำคัญของความสำเร็จครั้งนี้คือ “ครูเก่ง นักเรียนก็เลยเก่งตามด้วย” จึงเป็นที่มาของโรงเรียนต้นแบบทั้ง 14 โรงเรียน ในปี 2566 นั่นเอง

จากนั้น ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. ได้กล่าวถึงทิศทางความร่วมมือเพื่อการพัฒนาครู นักจัดการเรียนรู้ และนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ โดยหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งคือต้องให้นักเรียนรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งของการร่วมมือกันระหว่าง กสศ. และภาคีต่าง ๆ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

ดร.ไกรยส ยังกล่าวอีกว่า การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning จำเป็นจะต้องทำให้คุณครูได้สวมหมวกของการเป็นนักจัดการเรียนรู้ด้วย ซึ่งเป็นการแปลงนโยบายของ สพฐ. ให้ปรากฏผลลัพธ์ในเชิงปฏิบัติ โดยการทำให้คุณครูเป็นนักจัดการเรียนรู้ที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ด้วย และสิ่งที่จะตามมาคือ เด็กจะเป็นนักเรียนรู้ที่ Active และไม่ยุติการเรียนรู้แม้จะจบหลักสูตรการเรียนแล้ว นี่คือเป้าหมายสูงสุดในปลายทางระยะยาวที่มั่นคงและยั่งยืน

อีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ ดร.ไกรยส ได้กล่าวถึงก็คือ ‘Agentic Teacher’ หรือแปลได้ว่า ‘คุณครูผู้ก่อการ’ ซึ่งมีความหมายที่แฝงไว้อย่างลึกซึ้งและเกี่ยวเนื่องกับ Active Learning และนักจัดการเรียนรู้อยู่ในตัว กล่าวคือ หากคุณครูเป็นครูผู้ก่อการแล้ว ครูจะต้องสามารถเอาคุณค่าที่สะสมในจิตวิญญาณความเป็นครู มาผนวกรวมกับอุดมการณ์ ความคิด ความตั้งใจ และคุณค่าในตัวเองและท้องถิ่นชุมชน เชื่อมโยงกับทักษะในการเรียนการสอน ความรู้ในหลักสูตรแกนกลาง และเชื่อมโยงกับสมาชิกในชุมชนจนเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ดร.ไกรยส เสริมว่า กระบวนการดังกล่าวอาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่หากคุณครูสามารถบรรลุเป้าหมายในการเป็นคุณครูผู้ก่อการได้ จะเป็นคุณครูที่มีพลัง สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวและผู้คนต่าง ๆ จนเกิดเป็นกระบวนการที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนได้ 

ทั้งนี้ โครงการพัฒนานักจัดการเรียนรู้ฯ มีผู้สมัครเข้าร่วมมากถึง 200 โรงเรียน แต่ กสศ. รับได้เพียง 40 โรงเรียนเท่านั้น นั่นหมายความว่ามีโรงเรียนที่สนใจมากถึง 5 เท่า จึงคาดว่าในรุ่นต่อ ๆ ไปจะมีการเพิ่มงบประมาณและรับเพิ่มได้ 

สำหรับทิศทางต่อไป กสศ. ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างครบวงจร เมื่อคุณครูผู้ก่อการได้เปลี่ยนห้องเรียนให้กลายเป็นห้องเรียนที่ตื่นตาและน่าเรียนรู้ จะทำให้คุณครูมีกำลังใจและจุดประกายให้โรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป และผลประโยชน์ย่อมตกแก่เด็กมากที่สุด 

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า

  • เรตบอล ราคาบอล SBOBET Ladbrokes Bet365 |
  • เว็บพนันออนไลน์ เว็บตรง อันดับ 1 ของโลก ดีที่สุด 2023 |
  • สล็อตเว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด สล็อตวอเลท ไม่มีขั้นต่ำ |
  • 14 เว็บพนันออนไลน์เว็บตรงที่ดีที่สุดในปี 2023 |